คำขวัญโรงเรียน : มีคุณธรรม ก้าวทันเทคโนโลยี บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง

คำขวัญประจำโรงเรียน

“ผู้รู้ดีเป้นผู้เจริญ”

ปรัชญาการจัดการศึกษา

“เรียนดี กีฬาเด่น เน้นวินัย ใฝ่คุณธรรม”

อัตลักษณ์ของโรงเรียน

“เรียนดี กีฬาเด่น เน้นวินัย ใฝ่คุณธรรม”

 การจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมาตรฐาน มุ่งเน้นการเสริมสร้างความรู้ ความสามารถและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษา    ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551  และเป็นไปตามปฏิญญาว่าด้วยการจัดการศึกษาของ UNESCO ได้แก่
 Learning to know  หมายถึง  การเรียนเพื่อให้มีความรู้ในสิ่งต่าง ๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อไป ได้แก่ การรู้จักการแสวงหาความรู้ การต่อยอดความรู้ที่มีอยู่ และรวมทั้งการสร้างความรู้ขึ้นใหม่
Learning to do  หมายถึง  การเรียนเพื่อการปฏิบัติหรือลงมือทำ  ซึ่งนำไปสู่การประกอบอาชีพจากความรู้ที่ได้ศึกษามา  รวมทั้งการปฏิบัติเพื่อสร้างประโยชน์ให้สังคม
Learning to live with  the  others  หมายถึง  การเรียนรู้เพื่อการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข  ทั้งการดำเนินชีวิตในการเรียน ครอบครัว สังคมและการทำงาน
Learning to be หมายถึง การเรียนรู้เพื่อให้รู้จักตัวเองอย่างถ่องแท้ รู้ถึงศักยภาพ ความถนัด ความสนใจของตนเอง  สามารถใช้ความรู้ ความสามารถของตนเองให้เกิดประโยชน์
ต่อสังคม  เลือกแนวทางการพัฒนาตนเองตามศักยภาพ  วางแผนการเรียนต่อ  การประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับศักยภาพตนเองได้
ทั้งนี้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ  ทั้งในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก  เทียบเคียงกับนานาอารยประเทศ  โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีศักยภาพที่สำคัญ ดังนี้
 
1) ความรู้พื้นฐานในยุคดิจิทัล (Digital-Age Literacy)  มีความรู้พื้นฐานที่จำเป็น
ทางวิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ภาษา ข้อมูล และทัศนภาพ (Visual & Information)   รู้พหุวัฒนธรรมและมีความตระหนัก สำนึกระดับโลก (Multicultural literacy & Global Literacy)
2) ความสามารถคิดประดิษฐ์อย่างสร้างสรรค์ (Inventive Thinking)  มีความสามารถ
ในการปรับตัว  สามารถจัดการกับสภาวการณ์ที่มีความซับซ้อน  เป็นบุคคลที่ใฝ่รู้  สามารถกำหนด
/ตั้งประเด็นคำถาม (Hypothesis Formulation) เพื่อนำไปสู่การศึกษาค้นคว้า  แสวงหาความรู้  
มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์  คิดสังเคราะห์ ข้อมูล สารสนเทศ  และสรุปองค์ความรู้ (Knowledge Formation ) ใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
3) ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิผล  (Effective Communication )  ความสามารถ
ในการรับและส่งสาร  การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผ และความถูกต้อง 
มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษา  ถ่ายทอดความคิด  ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเอง  เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร และประสบการณ์  อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง
และสังคม  รวมทั้งมีทักษะในการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ  ตลอดจนสามารถเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม
4)  ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต  ความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน  การเรียนรู้ด้วยตนเอง  การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม  สามารถจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสมและนำไปสู่การปฏิบัติ/นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม  บริการสาธารณะ (Public Service )  ซึ่งหมายถึงการเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก (Global Citizen)
5)  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี การสืบค้นหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้และวิธีการที่หลากหลาย (Searching for Information) เลือกและใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี  เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม  ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร        การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์  ถูกต้องเหมาะสม และมีคุณธรรม
การจัดทำหลักสูตร  และการจัดการเรียนการสอนสู่สากล
การที่ผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพดังกล่าวข้างต้น ย่อมต้องอาศัยหลักสูตรสถานศึกษาที่เหมาะสม คือ จะต้องได้รับการออกแบบอย่างดี มีเป้าหมายและกระบวนการดำเนินงานที่เป็นระบบ  ด้วยความร่วมมือของบุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียน  หลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนมาตรฐานสากลเป็นหลักสูตรที่ใช้เป็นเป้าหมายและทิศทางในการยกระดับการจัดการศึกษาของทั้งโรงเรียน  มิใช่การจัดในลักษณะของแผนการเรียนสำหรับผู้เรียนเพียงบางส่วน  การออกแบบหลักสูตรจะต้องสอดคล้องกับหลักการและแนวคิดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551  ซึ่งผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาคุณภาพบรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้  8  กลุ่มสาระ  และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่กำหนด  มีการพัฒนาต่อยอดลักษณะที่เทียบเคียงกับสากล  ทั้งในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยโรงเรียนพิจารณาให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพความพร้อม  และจุดเน้นของโรงเรียน 
กระบวนการพัฒนาผู้เรียนสู่คุณภาพที่คาดหวังในการจัดการเรียนสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและศักยภาพความเป็นสากล  คือ  เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ  มีทักษะในการค้นคว้า  แสวงหาความรู้และมีความรู้พื้นฐานที่จำเป็น  สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์  สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิผล  มีทักษะชีวิต  ร่วมมือในการทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี  จะต้องมีกระบวนการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  มีลำดับขั้นตอนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น  โดยมีกระบวนการสำคัญในการจัดการเรียนรู้  เรียกว่า  “บันได 5 ขั้น ของการพัฒนาผู้เรียนสู่มาตรฐานสากล” ได้แก่
 
1. การตั้งประเด็นคำถาม/สมมุติฐาน (Hypothesis  Formulation)  เป็นการฝึกให้
ผู้เรียนรู้จักคิด  สังเกต   ตั้งคำถามอย่างมีเหตุผลและสร้างสรรค์  ซึ่งจะส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิด
การเรียนรู้ในการตั้งคำถาม (Learning  to  Question)  
2. การสืบค้นความรู้จากแหล่งเรียนรู้และสารสนเทศ (Searching  for  Information) 
เป็นการฝึกแสวงหาความรู้  ข้อมูล  และสารสนเทศ  จากแหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลาย เช่น  ห้องสมุด  อินเทอร์เน็ต  หรือจากการฝึกปฏิบัติ  ทดลอง  เป็นต้น  ซึ่งจะส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิด
การเรียนรู้ในการแสวงหาความรู้ (Learning  to  Search)  
3. การสร้างองค์ความรู้ (Knowledge  Formation) เป็นการฝึกให้ผู้เรียนนำความรู้และสารสนเทศที่ได้จากการแสวงหาความรู้  มาถกแถลง  อภิปราย  เพื่อนำไปสู่การสรุปและสร้างองค์ความรู้  (Learning  to  Construct)  
4. การสื่อสารและการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ (Effective  Communication) เป็นการฝึกให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้มาสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งจะส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีทักษะในการสื่อสาร  (Learning  to  Communication)  
5. การบริการสังคมและจิตสาธารณะ (Public  Service) เป็นการนำความรู้สู่การปฏิบัติ ซึ่งผู้เรียนจะต้องเชื่อมโยงความรู้ไปสู่การทำประโยชน์ให้กับสังคมและชุมชนรอบตัวตามวุฒิภาวะของผู้เรียนและจะส่งผลให้ผู้เรียนมีจิตสาธารณะและบริการสังคม  (Learning  to  Serve)  การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent  Study : IS) เครื่องมือสำคัญในการพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามบันได 5 ขั้น ดังกล่าว สามารถดำเนินการได้หลากหลายวิธีและการให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  “Independent  Study : IS” นับเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่งที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในการพัฒนาผู้เรียน  เพราะเป็นการเปิดโลกกว้างให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าอย่างอิสระในเรื่องหรือประเด็นที่ตนสนใจ  เริ่มตั้งแต่การกำหนดประเด็นปัญหา  ซึ่งอาจเป็น Public  Issue  และ  Global  Issue  และดำเนินการค้นคว้าแสวงหาความรู้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย  มีการวิเคราะห์  สังเคราะห์  การอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  เพื่อนำไปสู่การสรุปองค์ความรู้  จากนั้นก็หาวิธีที่เหมาะสมในการสื่อสารนำเสนอให้ผู้อื่นได้รับทราบ  และสามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าไปทำประโยชน์แก่สาธารณะ  ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นกระบวนการที่เชื่อมโยงต่อเนื่องกันตลอดแนว  ภายใต้ “การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent  Study : IS) ”ซึ่งจัดแบ่งเป็นสาระการเรียนรู้  3 สาระ ประกอบด้วย
 
IS1 - การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research  and  Knowledge  formation)  เป็นสาระที่มุ่งให้ผู้เรียนกำหนดประเด็นปัญหา  ตั้งสมมุติฐาน    ค้นคว้า  แสวงหาความรู้และฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์  สังเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้
IS2 - การสื่อสารและการนำเสนอ (Communication  and  Presentation) เป็น
สาระที่มุ่งให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้รับ  มาพัฒนาวิธีการถ่ายทอด/สื่อสารความหมาย/แนวคิด  ข้อมูลองค์ความรู้ด้วยวิธีการนำเสนอที่เหมาะสม  หลากหลายรูปแบบ  และมีประสิทธิภาพ
IS3 - การนำองค์ความรู้ไปใช้บริการสังคม  (Global  Education  and  Social Service Activity)  เป็นสาระที่มุ่งให้ผู้เรียนนำ/ประยุกต์องค์ความรู้ไปสู่การปฏิบัติ  หรือไปใช้เกิดประโยชน์ต่อสังคม  เกิดบริการสาธารณะ  (Public  Service)
โรงเรียนต้องนำสาระการเรียนรู้  การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  (Independent   Study: IS) ไปสู่การเรียนการสอน  ด้วยการจัดทำรายวิชา  ออกแบบหน่วยการเรียนรู้  และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  ตามแนวทางที่กำหนด  โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับบริบท  วัยและพัฒนาการของผู้เรียน  ซึ่งอาจแตกต่างกันในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย  ตัวอย่างรายละเอียดนำเสนอตามเป้าหมายคุณภาพผู้เรียนที่กำหนด
 
เป้าหมายคุณภาพผู้เรียนในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง 
การพัฒนาผู้เรียนผ่านการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  (Independent  Study)   ครูผู้สอนจะต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของผู้เรียน  กิจกรรมการเรียนรู้  ความยาก - ง่ายของชิ้นงาน หรือภาระงานที่ปฏิบัติจะต้องเหมาะสม  เป้าหมายคุณภาพผู้เรียนแต่ละระดับที่กำหนดนี้  เป็นเป้าหมายและกรอบทิศทางที่ครูจะใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการประเมินผล
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–based Learning : PBL)
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หรือ Problem-based Learning : PBL คือ การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยปัญหานั้นเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้เรียน อาจเป็นเรื่องที่ผู้เรียนสนใจหรือ มีความหมายกับผู้เรียนที่สามารถนำมาสร้างกระบวนการเรียนรู้ได้โดยปัญหา แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
ปัญหาไม่ซับซ้อนสามารถค้นคว้าและคิดหาคำตอบในระยะสั้น กระบวนการเรียนรู้ด้วย Problem-based Learning ก็จะสามารถหาคำตอบของปัญหาหรือประเด็นที่สนใจ
ปัญหาที่ซับซ้อน ต้องศึกษาค้นคว้า พัฒนา ตรวจสอบ โดยใช้ระยะเวลาที่ยาวนานกว่า อาจต้องสร้างชิ้นงานเพื่อนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหา ลักษณะนี้ มักจะใช้ Project-based Learning เข้ามาช่วย
การเรียนรู้ด้วย PBL มุ่งสร้างประสบการณ์ตรง จึงเน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ ฝึกทักษะการคิด เผชิญสถานการณ์ปัญหา วางแผนการเรียนรู้ และตรวจสอบกำกับการเรียนรู้ และนอกจากนี้ PBL ยังช่วยสร้างแรงจูงใจในการเรียนให้กับผู้เรียนได้อีกด้วยอาจกล่าวได้ว่า “ภาระงานที่ท้าท้าย ช่วยสร้างทักษะการคิดและแก้ปัญหาได้ดี”ดังนั้น  การเรียนรู้ด้วย PBL จึงเป็น “การใช้ปัญหา ทำให้เกิดปัญญา”
“การเปลี่ยนแปลงใด ๆ จะให้เกิดผล ต้องไม่ใช้วิธีคิดแบบเดิม” จุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนสุขภาวะเน้นให้เกิด “ปัญญาภายใน” ที่ใช้กิจกรรมจิตศึกษา และ “ปัญญาภายนอก” ซึ่งการสร้างปัญญาภายนอก เป็นเรื่องของการพัฒนาวิธีคิด ทักษะการเรียนรู้ ให้กับผู้เรียน โดยการจัดการเรียนรู้ด้วย PBL ที่เป็นการปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอนจากเดิม ดังแผนภาพ
คุณสมบัติเด่นของ PBL
การเรียนรู้ด้วย PBL มีคุณสมบัติที่โดดเด่นสำหรับการนำมาใช้จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน ดังนี้
เป็นการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เป็นการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้
เป็นการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการคิด
เป็นการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้ร่วมกัน
เป็นการเรียนรู้เน้นการแสวงหาความรู้
เป็นการเรียนรู้ที่เน้นการบูรณาการความรู้
เป็นการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนควบคุมและประเมินกระบวนการเรียนรู้ (Metacognition)
เป็นการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนกำกับตนเองในการเรียนรู้ (Self-directed Learning)
คุณค่าของ PBL ต่อผู้เรียน
การเรียนรู้ด้วย PBL ช่วยเสริมสร้างสิ่งสำคัญต่อผู้เรียนอันจะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้ต่างๆ ดังนี้
เพิ่มแรงจูงใจในการเรียนรู้
พัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณการเขียน การสื่อสาร
ช่วยให้การจำข้อมูลต่าง ๆ ได้ดี
ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักการปรับตัวรับฟังความคิดเห็นของผู้เรียน เพื่อช่วยให้เรียนรู้และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี
ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นผู้รับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง
เสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต
PBL ปรับบทบาทของครูได้อย่างไร
บทบาทของครูในการจัดการเรียนรู้ด้วย PBLช่วยให้ภาพของครูในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีความชัดเจนมากขึ้น ดังนี้
การเป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) โดยการวางแผน ออกแบบการเรียนรู้ และเตรียมการสิ่งที่จำเป็นในการเรียนรู้ จัดเตรียมสื่อ แหล่งเรียนรู้สำหรับผู้เรียน
การเป็นผู้ชี้แนะ (Coach) โดยการกระตุ้นและให้คำแนะนำเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
การเป็นพี่เลี้ยง (Mentor)
การเป็นผู้ร่วมเรียนรู้ (Teacher as Learner)
 
 
ref::http://www.ires.or.th/?p=801